วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เส้นทางชีวิตของนิติกร อปท.

   ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นมาใหม่  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน .. เป็นการกระจายอำนาจการปกครอง ของประเทศไทย  ที่กำหนดให้มี ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น เอาหล่ะ ไม่เกริ่นเยิ่นเย้อมากความ  ก็ไปเซิสหาอ่านเอาละกันนะครับเพราะจะไม่ถึงเรื่องนั้น ในเรื่องที่จะพูดถึงนี้ ผู้เขียน เป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซท์  www.nitikon.com  ก่อนหน้านั้นเมื่อบรรจุปี 2547  ระบบสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตของเรายังไม่มีการกระจายเหมือนทุกวันนี้ ไลน์ เฟส ไฮไฟ ยังไม่มี ดังนั้นการติดต่อสื่อสารไม่ดีพอ ผู้เขียนเลยทำเว็บไซท์เพื่อเป็นสื่อกลาง เกริ่นเพื่อที่จะบอกว่า ดังนั้น  สายด่วนรัฐบาล 1111 ได้โทรหาผู้เขียนตามหมายเลขโทรศัพท์ผู้เขียนที่เอาไว้ใต้เว็บ เนื่องจากมีผู้สงสัยว่า การที่จะเข้ามาเป็นนิติกร อปท. มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
             บางคนที่อ่านบทความนี้แล้ว ยิ้มคล้ายหยันหน่อยๆว่า เรื่องแค่นี้ต้องถามด้วยหรือ สำหรับท่านที่เข้ามาในวงการแล้วก็ย่อมจะรู้ดี มองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่จิ๊บจ๊อยในความรู้สึกเพราะรู้แล้ว  บางท่านไม่ได้มายืนอยู่ในตำแหน่งอาจได้รับการบอกกล่าวหรือศึกษารู้วิธีการ ก็ผ่านไปไม่ต้องอ่านบทความ  แต่บางคนรุ่นน้องๆ ที่เรียนนิติศาสตร์อยู่หรือพึ่งจบมาใหม่อาจจะยังไม่รู้และต้องการรู้ก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมา เป็นบทความแรกของบล็อคนี้ ทำเว็บเป็น แต่ยังไม่เคยเขียนบล็อค ก็ขอเริ่มเลย
              จะเขียนย่นย่อสรุปใจความสั้นๆเลย มันก็ง่ายเกินไป ไม่เป็นบทความเหมือนกับคนเขียนหนังสือ ต้องเยิ่นเย้อหน่อยๆ มีลีลาลูกเล่นประกอบด้วยบ้าง เพื่อให้เนื้อหาสารำได้ใจความขยายความ แต่ก็ไม่ถึงกับมีแต่น้ำโหลงเหลงจนเกินไป เอ้ามาเข้าเรื่องกันเลย ถามว่านิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขาเข้ามาด้วยวิธีใด
               แจ้งให้ทราบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการหนึ่งตาม  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พรบ กระจาย อำนาจ และ พรบ จัดตั้ง และสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ  และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในท้องถิ่น ก็เป็นข้าราชการ ตามรัฐธรรมนูญ  แต่ในท้องถิ่นเองก็ประกอบด้วย ลูกจ้าง พนักงานจ้าง พนักงานประจำ และข้าราชการ
               นิติกร เป็นตำแหน่งหนึ่งที่เป็นข้าราชการประจำ มีอำนาจหน้าที่ตามมาตราฐานกำหนดตำแหน่งที่ คณะกรรมการกลาง ท้องถิ่นกำหนด โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็นข้าราชการประจำในตำแหน่งนิติกรได้  ต้อง
              1. จบนิติศาสตร์ที่ทาง กพ. รับรองสถาบันนั้นๆ และมีคุณสมบัติตามที่ กฎหมายท้องถิ่นรับรอง เช่น ไม่ล้มละลาย ต้องโทษจำคุก ฯลฯ
              2. ก่อนหน้าที่ผู้เขียนมาสอบ คือ จังหวัดเปิดสอบทั้งจังหวัด โดยที่ ท้องถิ่นแต่ละที่แจ้งกรอบอัตรากำลังที่ต้องการเข้า ท้องถิ่นจังหวัด เปิดสอบ ทั้ง ก ข และ ค  นั่นคือต้องสอบผ่าน  ในปัจจุบัน บางท้องถิ่นเปิดสอบเองได้  บางจังหวัด  และสองปีย้อนหลัง มีการสอบภาค ก ของกรมส่งเสริม เปิดให้สอบเก็บภาค ก ไว้มี อายุ 2 ปี เหมือน กพ แต่ กพ ไม่มีอายุ
             3. เมื่อสอบผ่านขึ้นบัญชีไว้ เรียงลำดับ มีอายุบัญชี 2 ปี   บรรจุลำดับต้นๆตามจำนวนกรอบที่มี


เดี๋ยวมาต่อ
              2.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น